วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Thailand's education system Is the failure of ASEAN

      ระบบการศึกษาไทย   






ะบบการศึกษาไทย คือหนึ่งในระบบการศึกษาที่ล้มเหลวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตกต่ำลงทุกปี 
ผู้เขียนสอนอยู่ในระบบการศึกษาไทยมากว่า 3 ปี และได้รับรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วระบบการศึกษาในไทยนั้นย่ำแย่แค่ไหน เงินงบประมาณที่ถมลงไปไม่เคยพอ, ห้องเรียนขนาดใหญ่(นักเรียนมากกว่า 50 คนต่อห้อง) ผลิตและพัฒนาครูย่ำแย่, นักเรียนขาดแรงผลักดัน และระบบที่บังคับให้นักเรียนผ่านชั้นได้แม้ว่าพวกเขาจะสอบตก จนคล้ายว่าเราจะมองไม่เห็นความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะอันใกล้นี้

ผู้เขียนสอนในโรงเรียนเอกชนพหุภาษา ดังนั้นระดับความเข้มข้นของปัญหาจะน้อยกว่าโรงเรียนรัฐ แต่ถึงอย่างนั้น โรงเรียนของเราก็ต้องตกอยู่ภายใต้ระบบราชการอันเทอะทะของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานไร้ประสิทธิภาพจนน่าหัวร่อแห่งหนึ่งของโลก กฏระเบียบเปลี่ยนแปลงทุกภาคการศึกษา หลักสูตรการสอน, เนื้อหาแบบเรียน, ข้อสอบ ฯลฯ แนวทางปฏิบัติใหม่ๆถูกสั่งการมายังครูอาจารย์ทุกๆเปิดเทอมใหม่ แล้วก็เปลี่ยนใหม่อีกทีในภาคการศึกษาหน้า

อาจารย์ได้รับคำสั่งให้ปล่อยนักเรียนผ่านชั้นไปได้ แม้ว่าพวกเขาจะสอบตก และให้ปิดตาข้างหนึ่งให้กับปัญหาที่เราควรจะซีเรียสอย่างการลอกการบ้านส่ง

ทุกๆปี กระทรวงศึกษาธิการจะเกิดปิ๊งไอเดียสุดเลิศในการพัฒนาการศึกษา ไอเดียสุดเลิศในปีนี้(2008-ผู้แปล)คือการบังคับให้อาจารย์ชาวต่างชาติทุกคนไปอบรมคอร์สวัฒนธรรมไทย แม้ว่าอาจารย์ชาวต่างชาติจำนวนมากจะอยู่ที่นี่มาหลายปีและเข้าใจวัฒนธรรมไทยดี แต่เพื่อจะได้รับการต่ออายุใบอนุญาตเป็นอาจารย์ พวกเขาก็จำเป็นต้องเข้าคอร์สนี้ ค่าอบรมอยู่ในราคา 110$-300$ (ราวสามพันถึงเกือบหมื่น-ผู้แปล) ต้องจ่ายโดยตัวอาจารย์ผู้เข้าอบรมเอง อาจารย์ชาวต่างชาติหลายคนปฏิเสธที่จะจ่าย ผู้เขียนรู้จักอาจารย์ที่มีฝีมือมาก 2 ท่านตัดสินใจเปลี่ยนไปสอนที่ญี่ปุ่นและเกาหลีแทน ด้วยผลจากนโยบายนี้
ระบบการศึกษาไทย คือความล
blogspot.com

ประเทศอาเซียนอื่น อาจารย์ชาวต่างชาติได้รับเงินเดือนที่สูงกว่า และกระทรวงศึกษาธิการในประเทศเหล่านั้นมีแนวคิดที่ก้าวหน้ากว่า ประเทศไทยจึงประสบปัญหาในการที่จะดึงดูดและรักษาอาจารย์ชาวต่างชาติที่มีคุณภาพเอาไว้ การออกกฏเช่นนั้นมา จึงเป็นคล้ายดั่งใบสั่งให้พวกเขาจากไปสู่ประเทศอื่นๆ

เป็นที่ทราบกันดีว่าองค์กรของรัฐหรือระบบราชการในแทบทุกประเทศทั่วโลกจะขึ้นชื่อเรื่องความไร้ประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างนั้น กระทรวงศึกษาธิการของไทย ก็ยังต้องจัดว่าไร้ประสิทธิภาพที่สุดที่ผู้เขียนได้เคยทำงานร่วมด้วยมา

โรงเรียนล่าสุดที่ผู้เขียนมีโอกาสสอน อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนได้มาหาผู้เขียนเพื่อขอให้ช่วยแก้ไขแกรมมาร์ เนื่องจากอาจารย์ท่านนั้นถูกตำหนิอย่างรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ตัวแทนของกระทรวงศึกษาธิการได้ต่อว่าอาจารย์ท่านนั้นอย่างหยาบคายว่า ไม่ดูแกรมมาร์ของเด็กๆบนการ์ดวันแม่ให้ถูกต้อง คำตำหนินี้มาจากองค์กรที่ส่งเอกสารมายังอาจารย์ต่างชาติทุกวัน โดยที่เอกสารราชการเหล่านั้นไม่มีสักประโยคที่เขียนแกรมมาร์ถูกต้องเลย ถึงขนาดที่บางอันหัวหน้าของผู้เขียนต้องโยนทิ้งถังขยะ เนื่องจากไม่สามารถอ่านได้เข้าใจเลย

สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติทางศึกษา นักเรียนไทยไม่เคยต้องคิดอะไรเอง ไม่ได้รับการฝึกฝนทักษะ Critical Thinking (การคิดเชิงวิพากษ์เป็นเหตุเป็นผล) ในโรงเรียนรัฐ การมีนักเรียน 50 คนต่อห้องเป็นเรื่องปกติ เด็กครึ่งนึงหลับในชั้นเรียน ในขณะที่อาจารย์ไม่เคยสนใจว่าพวกเขาจะฟังหรือไม่ จำนวนหนังสือมีจำกัด อุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ไม่เคยปรากฏให้เห็นในบางโรงเรียน อาจารย์ต่างชาติเป็นเหมือนเศษเกินที่มีแค่ให้พอมี

ในขณะที่โรงเรียนไม่สามารถจ่ายได้เกิน 750$ (ราว 23,000 บาท-ผู้แปล) จึงได้คุณภาพเท่าที่จ่าย (และคนที่เรียกว่า"อาจารย์"จำนวนมากนี้ เป็นเพียงชายแก่ที่ไม่มีปริญญาการสอนใดๆ มาที่นี่เพราะหญิงไทย และลงเอยด้วยการเป็นอาจารย์สอนภาษา เพราะเป็นงานเพียงไม่กี่อย่างที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติทำ)

สถานการณ์การศึกษาในเวียดนาม มาเลเซีย เกาหลีหรือจีน กำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ขณะที่ไทยถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง รัฐยังเสียเวลาไปกับการออกกฏที่น่าขัน แทนที่จะแก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหาจริงๆ 

อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงต่างๆในสังคมไทยนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า สังคมไทยนั้นคือสังคมแห่งการรักษาหน้าตาในทุกๆด้าน ภาพลักษณ์คือทุกสิ่ง และตราบใดที่ภาพลักษณ์ภายนอกของเด็กยังสำคัญกว่าความรู้ที่อยู่ข้างในสมองของพวกเขา ระบบการศึกษาไทยก็จะยังเผชิญกับปัญหาอยู่ต่อไป และร่วงหล่นอยู่ท่ามกลางการแข่งขันของโลก

แต่ใครสนกันล่ะ? ขอเพียงเด็กๆดูน่ารักน่าชัง เข้าแถวตรงเดินพาเหรดในชุดเครื่องแบบเรียบร้อย ถึงจะพูดประโยคภาษาอังกฤษได้ไม่เกินเกิน 20 คำและภาษาไทยเองก็ไม่ได้เก่งไปกว่ากันก็ตาม


เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก report.cnn.com, New Culture

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก